เทคนิคการทำข้อสอบ Reading
ส่วนต่อมาของข้อสอบ ซึ่งเป็นส่วนที่มีความสำคัญมาก
คือ Reading
comprehension (ความเข้าใจในการอ่าน) ครูให้ความสำคัญกับการอ่าน ครูขออธิบายแบบสั้นๆ นะคะ เพราะความจริงแล้วเทคนิคการอ่านมีมากมายจริงๆ เอาแค่ที่ครูเปิดสอนนักเรียน ม.ปลาย ที่โรงเรียนก็มีตั้ง 6 คอร์ส และถ้าเราฝึกเทคนิคการอ่านให้เก่งๆ เราก็จะโกยคะแนนในส่วนนี้ได้มากกว่าคนอื่น (ซึ่งมักจะคิดว่า
Reading คือ ต้องเดาเสมอ) ใน Reading Part จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นการอ่านสื่อต่างๆ ในชีวิตประจำวัน
เช่น ข้อความจากหนังสือพิมพ์ , พจนานุกรม , แผนภูมิ , ตาราง ,การพยากรณ์อากาศ ,
ฉลากยา เป็นต้น การอ่านข้อความประเภทนี้ ต้องใช้ทักษะการอ่านแบบ skim คือ การกวาดตาอย่างเร็วๆ เพื่อดูข้อมูลทั่วๆไป และ scan คือการกวาดตาอย่างเร็วๆ เพื่อหาจุดมุ่งหมายที่ต้องการ
ส่วนที่สอง เป็นการอ่านเนื้อเรื่องความยาวประมาณ 10-20 บรรทัด แต่ละเรื่องจะมีคำถามเรื่องละ 6-9 ข้อ ขึ้นอยู่กับความยาวและความยากง่ายของเนื้อเรื่อง คำถามที่จะปรากฏอยู่ในข้อสอบอ่าน จะมีคำถามหลักดังนี้
1. ถาม title หรือ topic (ชื่อเรื่อง) , main idea (ความคิดหลักของเรื่อง) วิธีการตอบคำถามประเภทนี้สามารถใช้เทคนิคในกรหาคำตอบได้ดังนี้
- ใช้วิธี skim และ scan คือการกวาดตาอย่างรวดเร็ว เพื่อหาคำซ้ำๆ ในเรื่อง ซึ่งเป็นคำที่ซ้ำๆ ที่อยู่ในกลุ่มคำที่น่าจะสัมพันธ์กัน นำมาประมวลรวมกันเพื่อรวมเป็นหัวเรื่องหรือแนวคิดหลักของเรื่อง
- ถ้าเนื้องเรื่องที่อ่านมีเพียง 1-2 ย่อหน้า ให้อ่านประโยคแรกและประโยคสุดท้ายของย่อหน้าแรก เพราะปะโยคแรกและประโยคสุดท้ายของแต่ละย่อหน้า มักจะเป็นประโยคที่มี main idea แล้วนำประโยคที่อ่านมาประมวลความคิด เพื่อหาความคิดหลักของเรื่อง
ถ้าเนื้อเรื่องที่อ่านมีตั้งแต่ 3 ย่อหน้าขึ้นไป ให้อ่านย่อหน้าแรกและย่อหน้าสุดท้าย เพราะย่อหน้าแรกมักจะเป็นคำนำ และย่อหน้าสุดท้ายมักจะเป็นสรุป ซึ่งจะทำให้เราสามารถจับใจความหลักของเนื้อเรื่องที่เราอ่านได้
ครูขอให้จำไว้เสมอว่า title , topic หรือ main idea ของเรื่องจะต้องไม่กว้างมากเกินไปหรือไม่แคบเกินไป ถ้าครูจะเปรียบความคิดหลักของเรื่องก็คล้ายๆ กับฝาชี เรามีฝาชีไว้ครอบจานอาหาร ฝาชีนั้นต้องครอบอาหารได้ทุกจาน ไม่มีจานใดจานหนึ่งเล็ดลอดออกมา ในขณะเดียวกันก็ต้องไม่ใหญ่จนเกินไป เช่น ถ้าเราจับได้ว่าคำซ้ำๆ กันในเนื้อเรื่องคือ tiger , leopard , zebra , hare, snake ดังนั้น title หรือ topic ก็ควรจะเป็น wild animals ถ้าเราเลือก animal เฉยๆ ก็มักจะกว้างเกินไป จริงไหมคะ
2. ถาม pronoun reference นั่นก็คือคำถามประเภท “it” line…..refers to…. คิดว่าคงเคยเจอบ่อยๆ เลยใช่ไหมคะ เทคนิคการทำข้อสอบประเภทนี้มี 2 วิธีค่ะ คือ
- ถ้าข้อสอบถามถึงคำประเภท เช่น he , she , they , we , this , that , there , these , those , one , such , the above เราต้องใช้วิธีการ backward คือ ถอยหลังกลับไปอ่านในประโยคก่อนหน้านี้ 1-2 ประโยค ถ้าไม่เจออาจจะถอยไปประโยคที่ 3 แต่โอกาสที่จะถอยไป 3 ประโยค หรือเกินกว่านี้มีน้อยมากค่ะ เพราะตามหลักของการเขียนจะไม่อ้างอิงหลายประโยค เพราะอาจทำให้ผู้อ่านสับสน
- ถ้าข้อสอบถามถึงคำประเภท เช่น the following , as follows , bello , like , in this following เราต้องใช้วิธีการ forward คือ อ่านต่อไปอีก 1-2 ประโยค ก็จะได้คำตอบค่ะ
- ถ้าข้อสอบถามถึง it ให้ดูให้ดีว่า it ตัวนี้จะใช้วิธี backward หรือ forward ครูขอให้นักเรียนสังเกตอย่างนี้นะคะ ถ้าโจทย์ให้ประโยคแบบ it + to be (is , am , are , was , were) + adj. + to V. เช่น It is dangerous to use this drug. ให้ใช้วิธี forward คือ เดินหน้ามาจาก it คำตอบก็คือ to V. ในที่นี้ก็คือ to use this drug. เพราะประโยคแบบนี้เป็นการ Rewrite มาจาก To use drug is dangerous. แล้วเราก็เอา it มาแทน subject ของประโยค คือ To use drug ค่ะ (ตั้งสติทำความเข้าใจให้ดีๆ นะคะ)
ส่วนที่สอง เป็นการอ่านเนื้อเรื่องความยาวประมาณ 10-20 บรรทัด แต่ละเรื่องจะมีคำถามเรื่องละ 6-9 ข้อ ขึ้นอยู่กับความยาวและความยากง่ายของเนื้อเรื่อง คำถามที่จะปรากฏอยู่ในข้อสอบอ่าน จะมีคำถามหลักดังนี้
1. ถาม title หรือ topic (ชื่อเรื่อง) , main idea (ความคิดหลักของเรื่อง) วิธีการตอบคำถามประเภทนี้สามารถใช้เทคนิคในกรหาคำตอบได้ดังนี้
- ใช้วิธี skim และ scan คือการกวาดตาอย่างรวดเร็ว เพื่อหาคำซ้ำๆ ในเรื่อง ซึ่งเป็นคำที่ซ้ำๆ ที่อยู่ในกลุ่มคำที่น่าจะสัมพันธ์กัน นำมาประมวลรวมกันเพื่อรวมเป็นหัวเรื่องหรือแนวคิดหลักของเรื่อง
- ถ้าเนื้องเรื่องที่อ่านมีเพียง 1-2 ย่อหน้า ให้อ่านประโยคแรกและประโยคสุดท้ายของย่อหน้าแรก เพราะปะโยคแรกและประโยคสุดท้ายของแต่ละย่อหน้า มักจะเป็นประโยคที่มี main idea แล้วนำประโยคที่อ่านมาประมวลความคิด เพื่อหาความคิดหลักของเรื่อง
ถ้าเนื้อเรื่องที่อ่านมีตั้งแต่ 3 ย่อหน้าขึ้นไป ให้อ่านย่อหน้าแรกและย่อหน้าสุดท้าย เพราะย่อหน้าแรกมักจะเป็นคำนำ และย่อหน้าสุดท้ายมักจะเป็นสรุป ซึ่งจะทำให้เราสามารถจับใจความหลักของเนื้อเรื่องที่เราอ่านได้
ครูขอให้จำไว้เสมอว่า title , topic หรือ main idea ของเรื่องจะต้องไม่กว้างมากเกินไปหรือไม่แคบเกินไป ถ้าครูจะเปรียบความคิดหลักของเรื่องก็คล้ายๆ กับฝาชี เรามีฝาชีไว้ครอบจานอาหาร ฝาชีนั้นต้องครอบอาหารได้ทุกจาน ไม่มีจานใดจานหนึ่งเล็ดลอดออกมา ในขณะเดียวกันก็ต้องไม่ใหญ่จนเกินไป เช่น ถ้าเราจับได้ว่าคำซ้ำๆ กันในเนื้อเรื่องคือ tiger , leopard , zebra , hare, snake ดังนั้น title หรือ topic ก็ควรจะเป็น wild animals ถ้าเราเลือก animal เฉยๆ ก็มักจะกว้างเกินไป จริงไหมคะ
2. ถาม pronoun reference นั่นก็คือคำถามประเภท “it” line…..refers to…. คิดว่าคงเคยเจอบ่อยๆ เลยใช่ไหมคะ เทคนิคการทำข้อสอบประเภทนี้มี 2 วิธีค่ะ คือ
- ถ้าข้อสอบถามถึงคำประเภท เช่น he , she , they , we , this , that , there , these , those , one , such , the above เราต้องใช้วิธีการ backward คือ ถอยหลังกลับไปอ่านในประโยคก่อนหน้านี้ 1-2 ประโยค ถ้าไม่เจออาจจะถอยไปประโยคที่ 3 แต่โอกาสที่จะถอยไป 3 ประโยค หรือเกินกว่านี้มีน้อยมากค่ะ เพราะตามหลักของการเขียนจะไม่อ้างอิงหลายประโยค เพราะอาจทำให้ผู้อ่านสับสน
- ถ้าข้อสอบถามถึงคำประเภท เช่น the following , as follows , bello , like , in this following เราต้องใช้วิธีการ forward คือ อ่านต่อไปอีก 1-2 ประโยค ก็จะได้คำตอบค่ะ
- ถ้าข้อสอบถามถึง it ให้ดูให้ดีว่า it ตัวนี้จะใช้วิธี backward หรือ forward ครูขอให้นักเรียนสังเกตอย่างนี้นะคะ ถ้าโจทย์ให้ประโยคแบบ it + to be (is , am , are , was , were) + adj. + to V. เช่น It is dangerous to use this drug. ให้ใช้วิธี forward คือ เดินหน้ามาจาก it คำตอบก็คือ to V. ในที่นี้ก็คือ to use this drug. เพราะประโยคแบบนี้เป็นการ Rewrite มาจาก To use drug is dangerous. แล้วเราก็เอา it มาแทน subject ของประโยค คือ To use drug ค่ะ (ตั้งสติทำความเข้าใจให้ดีๆ นะคะ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น